สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 22-28 มิ.ย. 61



ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
 
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ
ได้แก่
- โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี
- โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่)
- โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
- โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่
- โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
- โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
- โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี
- โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560

1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,928 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,874 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,898 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,981 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 36,290 บาท ราคาลดลงจากตันละ 36,850 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,930 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,190 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.13

3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,143 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,407 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,185 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38,419 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.54 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,012 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 410 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,418 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 414 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,423 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 5 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 401 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,124 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 404 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,098 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 26 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 407 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,320 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,520 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.40 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 200 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.7270
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          กัมพูชา
          กัมพูชาเตรียมเปิดใช้โกดังพร้อมเครื่องอบข้าวสำหรับการจัดเก็บข้าวเปลือกในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยว จำนวน 3 แห่ง ในจังหวัดกัมปงธม ไปรเวง และตาแก้ว ซึ่งโกดังแต่ละแห่งสามารถจัดเก็บข้าวได้ปริมาณสูงสุด 500,000 ตัน และอบข้าวได้ 1,500 ตันต่อวัน
          เมื่อปี 2560 ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทของรัฐบาล ได้ให้สินเชื่อรวมจำนวน 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่ 2 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท Khmer Food และ Amru Rice สำหรับก่อสร้างโกดังในการจัดเก็บข้าวเปลือก เพื่อเป็นการแก้ปัญหาข้าวเปลือกล้นสต็อกให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว โดย บริษัท Khmer Food ได้รับสินเชื่อจำนวน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อก่อสร้างโกดังในจังหวัดไปรเวง และตาแก้ว ขณะที่บริษัท Amru Rice ได้รับสินเชื่อจำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อก่อสร้างโกดังในจังหวัดกัมปงธม และบริษัทยังได้ลงทุนเพิ่มเองอีก 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างโกดังสำหรับจัดเก็บข้าวอีก 6 โกดัง ในบริเวณเดียวกัน ปัจจุบันทั้งสองบริษัทอยู่ระหว่างการตรวจสอบระบบการทำงานของโกดังและเครื่องอบข้าว โดยยืนยันว่าโกดังพร้อมเครื่องอบข้าวจะพร้อมใช้งานสำหรับฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่กำลังจะมาถึงนี้
          นอกจากนั้น ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท ยังได้มอบสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ Thanakea Srov (Kampuchea) ซึ่งทำหน้าที่บริหารธนาคารข้าวของกัมพูชา (Cambodian Rice Bank) เพื่อขยายโกดังจัดเก็บข้าวในจังหวัดพระตะบอง โดยโกดังแห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางจัดเก็บข้าวแห่งแรกของภาคเอกชนในกัมพูชาที่สามารถจัดเก็บข้าวเปลือกได้สูงสุด 200,000 ตัน และแปรรูปข้าวเปลือกได้ 3,000 ตันต่อวัน
          ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ได้มีการเปิดใช้โกดังจัดเก็บข้าว ที่อำเภอบาเตีย จังหวัดกัมปงจาม ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนในการก่อสร้างจากรัฐบาลเกาหลีใต้ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โดยโกดังแห่งนี้สามารถ จัดเก็บข้าวได้ปริมาณสูงสุด 600 ตัน และอบข้าวได้ 80 ตันต่อวัน
          แม้ว่ากัมพูชาได้เร่งก่อสร้างโกดังสำหรับจัดเก็บข้าวและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก เพื่อแก้ไขปัญหาข้าวล้นสต็อก อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับอุตสาหกรรมการผลิตข้าว รวมถึงเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านราคาข้าวกับผู้ผลิตชาติอื่นๆ ในตลาดโลก อย่างไรก็ตามกัมพูชายังต้องการโกดัง จัดเก็บข้าวและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวอีกจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอกับความ ต้องการของอุตสาหกรรมการผลิตข้าวในประเทศกัมพูชา
         
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
 
          ลาว
          หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทม์ส รายงานโดยอ้างบทความ Lao Economic Monitor ของธนาคารโลกที่ระบุว่า ผู้บริโภคชาวลาวถือเป็นหนึ่งในผู้บริโภคที่ต้องจ่ายราคาข้าวสูงที่สุดในภูมิภาค ถึงแม้ว่าลาวจะเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวก็ตาม
          ข้าวเป็นสินค้าเกษตรที่ประเทศลาวผลิตมากที่สุด และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงนิยมการทำนา โดยการเพาะปลูกข้าวครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกถึงร้อยละ 75 จากทั้งหมด และชนิดของข้าวที่ปลูกร้อยละ 90 เป็นข้าวเหนียว อย่างไรก็ดีข้าวของลาวไม่สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ เนื่องจากการส่งออกต่างประเทศมีเพียงร้อยละ 5 โดยส่วนใหญ่เป็นประเทศจีนและเวียดนาม
          สำหรับราคาขายปลีกของผลิตภัณฑ์ข้าวเกรด 2 ในกรุงเวียงจันทน์อยู่ที่ประมาณ 0.85 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่ามีราคาสูงสุดเมื่อเทียบกับราคาข้าวของประเทศเพื่อนบ้าน
          ทั้งนี้ บทวิเคราะห์ระบุว่า เกษตรกรชาวลาวไม่ค่อยมีกำไรจากการปลูกข้าว ในขณะที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินซื้อข้าวในราคาที่แพงที่สุดประเทศหนึ่งของภูมิภาค
         
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          จีน
          มีรายงานว่า หลังจากที่ทางการสหรัฐฯ ได้ประกาศใช้นโยบายเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตราร้อยละ 25 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่มไฮเทคนั้น ทางการจีนได้ตอบโต้สหรัฐฯโดยการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เช่นเดียวกัน เช่น สินค้าในกลุ่มถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าวสาลี ฝ้าย เนื้อวัว แครนเบอรี่ น้ำส้ม ยาสูบ วิสกี้ รวมทั้งข้าวด้วย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคมเป็นต้นไป
         
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

          ไนจีเรีย
          รัฐบาลกลางระบุว่าจะปิดพรมแดนระหว่างไนจีเรียกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดการลักลอบนำเข้าข้าวจาก ต่างประเทศ โดยเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2558 รัฐบาลกลางได้สั่งห้ามนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ผ่านชายแดนของประเทศ หลังจากที่ไนจีเรียได้มีการปรับขึ้นภาษีนำเข้าข้าว โดยเก็บภาษีพิเศษสำหรับข้าวนึ่ง (the special levy on imported parboiled rice) จาก 40% เป็น 100% นอกเหนือจากภาษีปกติที่ท่าเรือ (statutory duty at the port) ในอัตรา 10%
          ในช่วงรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดี Olusegun Obasanjo เคยปิดพรมแดนด้าน Seme ที่ติดกับประเทศเบนินในปี 2556 โดยอ้างถึงปัญหาด้านอาชญากรรมข้ามพรมแดน รวมถึงการลักลอบนeเข้าสินค้าจeนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ข้าวจะถูกลักลอบนำเข้าผ่านพรมแดนประเทศเบนิน
         
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 
ราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%


 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.69 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.68 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.42 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ10.36 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.86
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา สำหรับสัปดาห์ที่แล้วเฉลี่ยตันละ 332.67 ดอลลาร์สหรัฐ (10,786 บาท/ตัน)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 351.48 เซนต์ (4,587 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 356.40 เซนต์ (4,609 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 22.00 บาท

 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64, 10.69 และ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.13 ล้านตัน (ร้อยละ 4.15 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – พฤษภาคม 2561) ปริมาณ 23.78 ล้านตัน (ร้อยละ 87.31 ของผลผลิตทั้งหมด)


การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์สูง ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์สูงด้วยเช่นกัน

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.44 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.47 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.21  
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.69 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.81 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.07

ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.22 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.75 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 15.83 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.51
   
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 238 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,789 บาท ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 73 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 525 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 17,182 บาท ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 161 บาท

 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.281 ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.218  ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.336 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.227 ล้านตัน ของเดือนพฤษภาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 4.12  และร้อยละ 3.96 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.04 บาท ลดลงจาก กก.ละ 4.13 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.18          
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 22.60 บาท ลดลงจาก กก.ละ 23.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.74      
    
2.  ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนกันยายน 2561 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,277 ริงกิตต่อตัน (566.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 0.6 เนื่องจากผลกระทบจากการชะลอตัวของประเทศผู้นำเข้าซึ่งหันไปนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันทานตะวันเป็นพืชน้ำมันที่สามารถแข่งขันราคาได้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวลดลงและต่ำสุดในรอบ 2 ปี สำหรับการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียในช่วง 25 วันแรกของเดือนมิถุนายน ลดลงร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของประเทศผู้นำเข้าที่เป็นตลาดหลักชะลอตัวลดลง คือ ยุโรป จีน และปากีสถาน
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,291.79 ดอลลาร์มาเลเซีย  (19.07 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,270.59 ดอลลาร์มาเลเซีย  (18.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.93       
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 606.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (20.11 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 621.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (20.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.33        
 
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
 


อ้อยและน้ำตาล 

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและ การผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 จนถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2561 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 134.93 ล้านตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 14.68 ล้านตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 10.69 ล้านตัน และน้ำตาลทรายขาว 3.99 ล้านตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.48 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 108.79 กก.ต่อตันอ้อย        

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ

 


ถั่วเหลือง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
        
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 872.92 เซนต์ (10.63 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 894.52 เซนต์ (10.80 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.41
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 334.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.08 บาท/กก.)  ลดลงจากตันละ 334.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.17
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 29.02 เซนต์ (21.20 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 29.30 เซนต์ (21.21 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.96

 


ยางพารา
 
 

 
สับปะรด
     

 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.56
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน   
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 823.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.96 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 831.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากันสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 700.60 ดอลลาร์สหรัฐ (22.93 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 707.80 ดอลลาร์สหรัฐ (22.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 516.20 ดอลลาร์สหรัฐ (16.89 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 521.60 ดอลลาร์สหรัฐ (16.91  บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 362.80 ดอลลาร์สหรัฐ (11.87 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 366.40 ดอลลาร์สหรัฐ (11.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 725.20 ดอลลาร์สหรัฐ (23.73 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 732.60 ดอลลาร์สหรัฐ (23.75 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท


 


ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.92
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 10.00

 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
 


ฝ้าย
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้

ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 85.55 เซนต์(กิโลกรัมละ 62.36 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 85.56 เซนต์ (กิโลกรัมละ 61.95 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.01 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.41 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,654 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,650 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.42
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,267 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,275 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ  0.63
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,144 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ  1,141 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.26


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดไม่มากและใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกร  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  56.96  บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.62  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.60  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 55.75 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 52.92 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.26 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 58.87 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 58 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อที่เริ่มมีมากขึ้นส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย   แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.46 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.14  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.75 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.03 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไข่ไก่ที่มีมากขึ้น ขณะที่ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดในภาวะปกติ  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  280 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 278 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ  0.72  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 278 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ  18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 333 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 327  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.83  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 356 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 348 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 299 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  348 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ   
         ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.08  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.15 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 84.96 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ  92.90 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 99.56 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
         ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 71.48 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.14 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.67 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา 
 


 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 22 – 28 มิถุนายน 2561) ไม่มีรายงานปริมาณ
จากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.75 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.42 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.27 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.83 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 141.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.87 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
 2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.66 บาท    ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 170.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 179.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 9.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.55 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 22 – 28 มิ.ย. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา